หลังจากที่ได้ทราบข่าวเรื่องดราม่าคนอีสาน มีหลายคำที่ pop up ขึ้นมาสำหรับต่าย คือ difference, diversity, discrimination ตอนที่ต่ายทำงานที่บริษัทต่างชาติบริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องความแตกต่างและการไม่เลือกปฏิบัติเป็นอย่างมาก หลาย ๆ องค์กรที่มีค่านิยม (value) ในเรื่องนี้
.
บริษัทที่ต่ายทำงานเป็นริษัทอเมริกัน มีประวัติศาสตร์ในเรื่องของการเหยียดเชื้อชาติถึงขั้นเป็นสงครามการเมือง รวมทั้งเรื่องของการเรียกร้องสิทธิสตรี บริษัทในอเมริกาจึงให้ความสำคัญสำหรับเรื่อง discrimination เป็นอย่างมาก ดัชนี DJSI (Dow Jones Sustainability Indices) เป็นดัชนีหลักทรัพย์ของบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ผ่านการประเมินความยั่งยืน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่บริษัทชั้นนำพยายามที่จะติดอันดับ index นี้ ตัววัดตัวหนึ่งก็คือเรื่องของความหลากหลากทั้งในแง่ของเพศและเชื้อชาติเผ่าพันธุ์
.
การที่เราไม่เข้าใจความแตกต่างก็ทำให้เกิดการเกลียดชังและส่งผลกระทบใหญ่โต เช่น มีการเหยียดคนเอเชียในสหรัฐอเมริกา จนมี trend #StopAsianHate ต่ายนั่งอ่าน National Geographic กับลูกก็มีสารคดีเรื่องการเหยียดคนผิวดำจนถึงขั้นทำลายเผาบ้านเมืองคนผิวดำ หรือส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดจาการเกลียดชังคนยิวของฮิตเลอร์
.
การที่คนเราแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา ประสบการณ์ สถาบันการศึกษา ถิ่นที่อยู่ ภาษา นำมาซึ่งความหลากหลาย ในการทำงานเราสามารถใช้ความแตกต่างเหล่านี้มารวมกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ดีกว่า สำหรับต่ายการได้ทำงานกับคนที่แตกต่างเราก็สนุกดีค่ะ ได้รู้อะไรใหม่ ๆ ที่ไม่เคยรู้ หลายครั้งก็นำมาใช้ในการทำงานให้ดีขึ้น
.
สำหรับยุคนี้มี trend การเลี้ยงลูกให้เป็น Global Citizen การ value the difference ยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าลูกคนจะทำงานกับคนชาติไหน หรือไปทำงานที่ไหนในโลก การที่ลูกเข้าใจความแตกต่างและสามารถนำความแตกต่างเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ จะยิ่งช่วยให้ลูกเราใช้ชีวิตได้อย่างที่เค้าอยากจะเป็นค่ะ
.
ต่ายลองสังเกตจากประสบการณ์ของตัวเอง ก็มีข้อแนะนำว่าถ้าเราอยากจะสอนลูกให้ยอมรับความแตกต่างควรทำอย่างไรบ้าง
1. การยอมรับความแตกต่างมาจากการเลี้ยงดูไม่ใช่พันธุกรรม ดังนั้นควรเริ่มต้นจากการเป็นตัวอย่างให้ลูกค่ะ เช่น เราไม่ใช่ภาษาที่เหยียดคนอื่น เช่น เสี่ยว ลาว เราไม่ bully คนอื่นด้านวาจาด้วยเช่นการแซวเด็กว่าอ้วน (เราอาจจะคิดว่าแซวแต่คนฟังอาจจะคิดว่าโดน bully ค่ะ)
2. ถ้าลูกยังเล็กสามารเริ่มปลูกฝังได้โดยการคัดกรองสื่อต่าง ๆ ที่ลูกเราจะเข้าถึง เช่น นิทานหรือรายการที่ส่งเสริมความแตกต่าง ชวนลูกคุยและตอบข้อสงสัยของลูก เช่น ลูกเห็นคนผิวดำแล้วมาถามเรา หรือมีเพื่อนที่แตกต่างจากคนอื่นแล้วโดนแกล้ง ช่วยให้แนวทางลูกในการอยู่ร่วมกับคนอื่นค่ะ
3. ถ้าลูกโตแล้วถามความเห็นลูก ชวนคุยเวลาเห็นข่าว ลูกเรามีความเห็นอย่างไร เราสามารถแสดงทัศนคติของเราให้ลูกทราบค่ะ
4. ชวนลูกทำกิจกรรมต่างวัฒนธรรม ชวนไปเที่ยวและไปพักบ้านคนท้องถิ่น หรือจัดกิจกรรมที่บ้านจัด party อาหารนานาชาติ แต่งชุดประจำชาติอื่น ๆ อ่าน ศึกษา ดู วัฒนธรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
มีคำแนะนำเพิ่มเติมจาก Unicef link อยู่ใน comment นะคะ
Comments