ต่ายชอบฟัง Master Class ซึ่งจะเป็นแหล่งรวมสุดยอดของแต่ละด้านในโลกมาเล่ามาแชร์ประสบการณ์
.
วันนี้ได้ฟัง Itzhak Perlman เป็นนักไวโอลินที่เก่งมาก แปลกใจเหมือนกันเพราะปกติ Master Class จะเป็น self development แนวธุรกิจ แนวงานอดิเรกที่สำหรับคนทั่วไป แต่คลาสนี้คือได้เทคนิคไวโอลินจริงจัง คุยกันภาษาดนตรี เหมือนได้เรียน master class กับนักดนตรีที่เก่ง ๆ online
.
เรื่องนึงที่อยากนำมาแชร์ เพราะเป็นประโยชน์ในการซ้อม เด็ก ๆ หลายคนไม่ชอบเปิด metronome เวลาซ้อม เพราะอยากเล่นจังหวะตามใจตัวเอง ไม่ชอบเสียง metronome เล่นกับ metronome แล้วยาก ฯลฯ แต่ Itzhak แนะนำว่าเราควรซ้อมช้า ๆ และการเปิด metronome ก็ช่วยให้เราซ้อมช้า ๆ ได้
.
การซ้อมดนตรีเปรียบกับฟองน้ำ ถ้าเราเอาฟองน้ำจุ่น้ำแป๊บเดียวฟองน้ำก็จะยังซับน้ำได้ไม่เยอะ เหมือนกับการซ้อมไวโอลิน ถ้าเราซ้อมเร็ว ๆ เรา รวมทั้งกล้าเนื้อของเราก็จะยังไม่จดจำบทเพลง ถ้าเราซ้อมช้า ๆ กล้ามเนื้อและส่วนอื่น ๆ ของเราก็จะจำทเพลงไปด้วย การซ้อมช้า ๆ ช่วยให้เราสังเกตที่ผิดได้ง่ายกว่าด้วย ถ้าเราซ้อมแบบผิด ๆ ไปกล้ามเนื้อเราก็จะจำและก็แก้ยากด้วยเพลงที่เด็ก ๆ เคยเล่นไว้ตอน 7-8 ขวบ ตรงที่ที่เคยเล่นผิดไว้ พอเล่นเพลงนี้อีกตอนอายุ 14-15 ก็จะยังผิดที่เดิม
.
เวลาที่เราซ้อมไปเรามีแนวโน้มจะเล่นเร็วขึ้น การเปิด metronome ช่วยให้เราเล่นช้า ๆ ได้ เราเปิด metronome ให้จังหวะช้าและพยายามเล่นตามจังหวะ จะช่วยบังคับให้เราเล่นช้า ๆ จังหวะเหมือนกับ skeleton ของเพลงค่ะ ช่วยให้เพลงดำเนินไปได้อย่างมั่นคง
.
สำหรับการเลือกคุณครู Itzhak บอกว่าเป็นสิ่งสำคัญไม่ใช่ใครก็ตามที่เล่นดนตรีเป็นจะเป็นครูที่ดี การหาครูขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ที่ไหนด้วย ถ้าอยู่ในเมืองใหญ่ก็จะมีครูเยอะ Itzhak แนะนำให้ไปหาคุณครูจากวงออเครสตร้า นักดนตรีหลายคนเรียนมาจากสถาบันที่สอนดนตรี และสามารถสอนได้ คุณครูแต่ละคนอาจจะมีความเชี่ยวชาญในการสอนเด็กที่ต่างกันไป เช่น บางคนถนัดสอนเด็กเล็ก บางคนถนัดสอนเด็กในมหาวิทยาลัย ต้องสอบถามจากคุณครูค่ะ
.
สำหรับต่ายจะแนะนำว่า บ้านเรามีโรงเรียนดนตรีหลายแห่งค่ะ โรงเรียนดนตรีที่มีมาตรฐานก็จะมีระบบการคัดเลือกคุณครูอบรมคุณครูค่ะ คุณพ่อคุณแม่ถามได้เลยค่ะว่าคุณครูที่จะมาสอนลูกเราเรียนดนตรีที่ไหนมา สอนเด็ก ๆ ระดับไหน ส่วนมากหลายโรงเรียนจะมีให้ทดลองเรียนก่อนได้ ควรทดลองค่ะ ยิ่งถ้าเป็นเด็กเล็กให้ลูกได้ลองว่าลูกเราเข้ากับครูได้ไหม และเราเองถูกจริตกับครูด้วยไหม ถ้าเด็กไม่ชอบครูอาจจะพาลไม่ชอบดนตรีไปเลยค่ะ
.
ครูที่สอนเด็กเล็กควรเน้นเรื่องพื้นฐาน การจับเครื่อง ท่าเล่น ท่ายืน ท่านั่ง เพราะเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ถ้าผิดแล้วแก้ยากค่ะ การเรียนดนตรีก็เรียนกันไปยาว ๆ ต่ายสอนนักเรียนบางคนเป็น 10 ปีก็มีค่ะ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่เปลี่ยนครูนะคะ พอถึงระยะนึงก็อาจจะต้องมีการเปลี่ยนครู ต่ายเองก็เรียนเปียโนกับครูมาทั้งหมด 6 คนค่ะ
.
นอกจากนั้นสำหรับ Itzhak เค้าเล่าว่าสไตล์การสอนของครูก็ต่างกัน เค้าเรียนกับครูที่ให้นักเรียนเล่น พอเล่นเสร็จก็จะบอกว่าตรงไหนเล่นได้ดี ตรงไหนควรแก้อย่างไร และเมื่อมาเจอครูที่เมื่อเล่นเสร็จแล้วครูถามก่อนว่าตอนที่เล่นคิดว่าเป็นอย่างไร เล่นตรงไหนได้ดี/ไม่ดี สำหรับ Itzhak เองใช้วิธีที่สอง ซึ่งหลายครั้งเด็ก ๆ ก็ทำให้เค้าแปลกใจว่าเด็ก ๆ รู้หมดเลยว่าตรงไหนเล่นดีไม่ดีอย่างไร ตอนนี้ต่ายเลยเปลี่ยนการซ้อมกับลูกลองถามลูกดูว่าที่เค้าเล่นไปเค้าคิดอย่างไร ตอนนี้กำลังปรับกันค่ะ เพราะแรก ๆ ลูกตอบไม่ได้ รอแม่บอกว่าให้แก้ตรงไหน
.
สิ่งสำคัญอีกอย่างของการเป็นครูคือ เราต้องรู้ว่าควรพูดอะไร ส่วนที่สำคัญยิ่งกว่าคือ เราไม่ควรพูดอะไร หลายเคสที่เด็ก ๆ เป็น talent ในช่วงต้น ๆ (ประมาณ 7-10 ขวบ) แต่หลังจากนั้นจะทำอย่างไรให้เด็ก ๆ ยังมี passion ต่อไปอีก 8 ปี 10 ปี ไม่ให้เด็ก ๆ burn out ไปเสียก่อน
.
สรุปสิ่งที่สำคัญสำหรับการเรียนดนตรีคือ เราต้องซ้อมช้า ๆ และเราต้องฟังสิ่งที่ตัวเองเล่นค่ะ
Comments