top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.371 Uncommon Sense Teaching อยากให้คุณครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาได้อ่านค่ะ


ต่ายเพิ่งเรียน course ‘Uncommon Sense Teaching’ ใน Coursera จบไปค่ะ ความรู้สึกระหว่างเรียนจนเรียนจบ คือ เราควรได้รู้สิ่งนี้มานานแล้ว ตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นครูสอนดนตรี ตอนที่ทำ course training ให้องค์กร หรือแม้แต่ตอนนี้ที่เป็นแม่ เพราะมันคือหลักการเรียนรู้ของสมอง ที่คนที่ให้ความรู้ (ทั้งครู, อาจารย์, trainer, facilitator รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยค่ะ) ควรที่จะได้รู้ เพื่อนำไปปรับใช้ในการสอนเด็ก นักเรียน ผู้เข้าอบรม ให้เรียนแล้วได้ผล เรียนแล้วมันเข้าไปฟังอยู่ที่ long term memory และทำให้ผู้เรียนยังสามารถ link สิ่งที่เรียนไปแล้วกับสิ่งใหม่ได้อีกด้วย

.

Course นี้เป็นภาคต่อ เป็น version สำหรับคุณครู ต่อจาก Learning How to Learn ที่คอร์สนี้ ถ้าต่ายได้รู้วิธีการเรียนที่ถูกต้องตั้งแต่เด็ก ๆ คงเรียนเก่งกว่านี้ หรือเปิดศักยภาพให้ตัวเองได้กว้างไกลกว่านี้ (ยังไม่สายค่ะ ต่ายอ่านหนังสือเล่มนี้ให้ลูกฟังก่อนนอน แล้วก็ discuss วิธีกับเด็ก ๆ ว่าเค้าจะเอาอะไรจากหนังสือไปใช้บ้าง ใช้อย่างไร)

.

การที่เรียนแล้วไม่รู้เรื่องเป็นเรื่องปกติ ถ้าเราเค้าใจมองเราจะรู้ว่าสมองเราทำงานด้วย 2 mode สลับกันคือ โหมดจดจ่อ (focus mode) และโหมดผ่อนคลาย (diffuse mode) การที่เราจะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ยาก ๆ ถ้าเราจดจ่ออยู่นานแล้วก็ยังไม่เข้าหัวก็ควรจะสลับไปโหมดผ่อนคลาย เช่น ไปเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือทำอะไรที่ชอบช่วงสั้น ๆ แล้วกลับมาโหมดจดจ่อจะช่วยให้เราเรียนรู้ได้ดีขึ้น บางครั้งเราอาจะต้องสลับ 2 โหมดนี้หลายครั้งจึงจะเข้าใจ อย่าเพิ่งท้อนะคะ การนอนหลับเป็นโหมดผ่อนคลายที่ดีที่สุด ระหว่างที่เรานอนหลับ cell สมองจะมีการช่วยทำให้เรื่องที่เราต้องจำแข็งแรงขึ้นและช่วยกำจัดเรื่องที่ไม่สำคัญ (pruning)

.

เมื่อเราเรียนรู้ใหม่ ๆ ความรู้ใหม่จะไปอยู่ที่ working memory ซึ่งมีพื้นที่น้อยทำให้ลืมได้เร็ว การที่เราฝึก recall คือการทบทวนบทเรียนจากความจำ โดยการทำในหลาย ๆ วัน (ไม่ใช่แค่วันเดียวก่อนสอบ) จะช่วยให้ความจำไปอยู่ที่ long-term memory นักเรียนบางคนทบทวนแค่ก่อนวันเดียว แล้วทำสอบได้เพราะความจำยังอยู่ที่ working memory แต่หลังจากนั้นก็จะลืมเพราะมันไม่ไปอยู่ที่ long-term memory

.

ในห้องเรียนเราจะมีเด็กเรียนรู้ได้เร็วต่างกัน เด็กที่มี working memory capacity เยอะกว่า (racer) จะเรียนรู้ได้เร็วกว่า แต่ก็อาจจะลืมได้เร็วกว่า ขณะที่ working memory capacity น้อยกว่า (hiker) จะเรียนรู้ได้ช้ากว่า ใช้เวลานานกว่าในการนำความรู้จาก working memory ไปอยู่ที่ long-term memory แต่ก็อาจจะมี creativity มากกว่า การที่เรามีนักเรียนหลากหลายอยู่ในห้อง เราช่วยนักเรียนที่เรียนช้าด้วยการอธิบายมากขึ้น สำหรับนักเรียนที่เรียนเร็วเราก็ถามคำถามหรือให้ assignment ที่ท้าทายไปทำขณะที่เรากำลังอธิบายนักเรียนคนอื่น

.

การเรียนที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก (นับจนถึงป.3) ควรจะเป็นการเรียนที่เด็กได้ลองลงมือทำเองเยอะ ๆ (lecture น้อย ๆ) ให้ลองนึกถึงตัวอย่างการหัดพูด เด็ก ๆ ก็จะลองถูกลองผิดไปจนสามารถพูดได้ ต่างกับเด็กโต เช่น การเรียนเรื่อง การเขียน ครูจะต้องสอนก่อนว่าเขียนอย่างไรและให้เด็กได้ลงมือฝึกเยอะ ๆ จนสามารถเขียนได้ การเรียนสำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ควรใช้ lecture สลับกับการที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติเอง โดย lecture ไม่ควรเกิน 10-15 นาที (ถ้าเด็ก ๆ เวลาต้องสั้นกว่านี้) การลงมือทำอาจจะเป็นการให้ผู้เรียนจับกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อ discuss สิ่งที่เพิ่งเรียนมา เป็นการ recall และสิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจำได้ใน long-term memory คือการที่ผู้เรียนไปฝึก recall ต่อเองที่บ้าน เช่นการทำการบ้าน, flashcard, ทำ quiz ที่ลองคิดขึ้นมาเอง

.

ต่ายนึกถึงตอนที่สอนดนตรี เป็นการสอนตามรูปแบบนี้คือ สอนเล่นเพลงใหม่ในห้อง แล้วให้นักเรียนลองเล่นเองในห้อง แล้วให้การบ้านไปซ้อมต่อที่บ้าน และเป็นวิธี typical ของครูสอนดนตรีที่เราทำมากันโดยตรงกับหลักการเรียนรู้ของสมองเลยค่ะ

.

มีประโยคหนึ่งที่คุณบาร์บผู้สอนกล่าวถึงคือ Don’t follow your passion, broaden them. อาจจะแตกต่างจากที่เราเคยได้ยินว่าให้หา passion ให้เจอแล้วพัฒนามุ่งไปทางนั้นเป็นให้เก่งในเรื่องนั้น ๆ สำหรับคุณบาร์บเองมี passion ในการเรียนภาษาตอนเด็ก ๆ ไม่ชอบเลขและวิทยาศาตร์เลย แต่เมื่อเรียนจบทางด้านภาษาแล้วพบว่างานที่เกี่ยวกับ passion ที่มีหาอาชีพได้ยาก จึงเปลี่ยนไปเรียนทางด้านวิศวะ ทำให้รู้ว่าสมองของเราเปลี่ยนได้จากที่เคยเรียนเลขและวิทย์ไม่รู้เรื่องเลย ทุกวันนี้คุณบาร์บเป็นดร.สอนทางด้านวิศวกรรม คุณบาร์บจึงแนะนำว่า ถ้า follow passion อย่างเดียวอาจจะเป็นการปิดกั้นศักยภาพในด้านอื่น ๆ

.

โปรแกรมการเรียนที่ถูกกล่าวถึงในคอร์สนี้ว่าสนับสนุนการเรียนรู้ของสมองตามแนวทาง Neuroscience และ Cognitive psychology คือ โปรแกรมช่วยเรียนภาษาอังกฤษ Fast ForWord, การเรียนเลขแบบ Kumon, การเรียนดนตรีแนว Suzuki, และระบบการเรียนแนว Montessori

.

สำหรับคอร์ส Learning How to Learn ลองดูได้จาก link ด้านล่างนะคะ


Leaning How to Learn Part 1 มารู้จักสมองของเรา เพื่อให้เราเรียนรู้ได้ดีขึ้น

Learning How to Learn Part 2


Commentaires


bottom of page