top of page
Search
  • Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.369 Psychological Safety


Concept ‘Psychological Safety’ กำลัง in trend มากในการพัฒนาองค์กรค่ะ เป็นการสร้างบรรยากาศปลอดภัยในการทำงาน เป็นความเชื่อที่ว่าคนๆ หนึ่งสามารถแสดงออก กล้าเสี่ยง และทำผิดพลาดโดยไม่ต้องกลัวผลด้านลบ เช่น การลงโทษ การเยาะเย้ย หรือการเหยียดหยาม สามารถพูดและรับฟัง แบ่งปันความคิด ถามคำถาม และเสนอความคิดเห็น โดยไม่ต้องกลัวการตอบโต้หรือขายหน้า

.

ความปลอดภัยทางจิตใจเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการสื่อสารแบบเปิด การทำงานเป็นทีม และนวัตกรรมในกลุ่มหรือองค์กรใดๆ ช่วยให้บุคคลรู้สึกสบายใจในการแบ่งปันความคิดและความคิดเห็น ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยมองว่าความผิดพลาดเป็นโอกาสในการเรียนรู้ และเติบโตมากกว่าความล้มเหลวที่จะถูกลงโทษ

.

มีหลายงานวิจัยที่พบว่าเมื่อองค์กรมี psychological safety ทำให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือบางองค์กรที่หาสาเหตุของการที่ผลประกอบการลดลงไม่เจอก็พบว่าเมื่อสามารถสร้าง psychological safety ได้ก็ช่วยให้ผลประกอบการดีขึ้น

.

ซึ่ง framework ‘The Four Stages’ ของ Timothy R. Clark อธิบาย stage ของการมี psychological safety ดังนี้

โดยที่การจะมี stage ถัด ๆ ไปจะต้อง มี stage ก่อนหน้านั้นก่อน (อารมณ์เหมือน Maslow’s Hierarchy of Needs ที่ต้องเติมความต้องการขั้นล่างก่อนถึงจะไปเติมความต้องการขั้นต่อ ๆ ไปได้)

1. Inclusion Safety ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม สามารถเชื่อมโยงและ feel belong โดยที่ยังสามารถเป็นตัวของตัวเองได้

2. Leaner Safety ความปลอดภัยที่จะเรียนรู้ สามารถถามคำถาม ให้และรับ feedback ได้ และมีโอกาสที่จะเติบโต

3. Contributor Safety รู้สึกปลอดภัยที่จะเสนอความคิดเห็น มีส่วนร่วม ใช้ทักษะความสามารถสร้างคุณค่าให้กับทีม

4. Challenger Safety รู้สึกปลอดภัยที่จะคิดต่าง กล้าเสนอความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างตรงไปตรงมา

.

การสร้าง psychological safety ไม่ใช่หน้าที่เฉพาะองค์กรหรือหัวหน้างาน แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กร เมื่อมีพื้นที่ปลอดภัยแล้ว เราก็ต้องกล้าที่จะใช้พื้นที่นี้ในการแสดงความคิดเห็นด้วย องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการสร้าง psychological safety จะต้องนำสิ่งนี้ไปใช้ในทุกระดับไม่ใช่เฉพาะระดับผู้นำ

.

และการมี psychological safety ก็มาพร้อมกับ accountability เมื่อมีพื้นที่ปลอดภัยแล้ว เราก็ต้อง balance กับความรับผิดชอบในการส่งมอบงานที่ได้รับมอหมายด้วยค่ะ

.

ถ้านำ concept นี้มาประยุกต์ในบ้าน เรากำลังพูดถึงการสร้างบ้านให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับสมาชิกในครอบครัว ต่ายขอฝากคำถามสำหรับแต่ละ stage ดังนี้นะคะ

1. Inclusion Safety: ทุกคนในครอบครัว feel belong หรือไม่

2. Learner Safety: ทุกคนสามารถถามคำถาม ให้และรับ feedback ได้ไหม ต่ายนึกถึงเหตุการณ์ตอนเด็ก ๆ ที่คุณพ่อดุและเสียงดัง การให้เหตุผลของเรา (feedback) ก็ถูกมองว่าเถียง จนกลัวและก็ต้องฟังเงียบ ๆ

3. Contributor Safety: เรารับฟังความคิดเห็นของทุกคนไหม หรือว่ามีคนใดคนหนึ่งในบ้านที่เป็นคนตัดสินใจหลัก

4. Challenger safety: ถ้ามีความเห็นต่างในบ้าน เราทำอย่างไรกับความต่างนั้น

.

หลาย ๆ บ้านไม่ได้มี physical violence แต่การขาด psychological safety ก็อาจจะก่อให้เกิด metal violence ค่ะ

Comments


bottom of page