top of page
Search
Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.359 Happy Money


หนังสือเล่มนี้เปิดมุมมองใหม่ของการมีความสุขกับเงิน ไม่ใช่หนังสือสอนการลงทุนหรือตั้งเป้าหมายการเงิน แต่เป็นการที่เราจะมีความสุขทางการเงินอย่างไรค่ะ ทางด้านการเงินมีทั้ง IQ ทางการเงินและ EQ ทางการเงิน หนังสือเล่มนี้เน้นเรื่อง EQ ทางการเงิน เรามาดูมุมมองใหม่ทางการเงินกันนะคะ

.

เคน ฮอนดะ คือ คือผู้เขียนหนังสือ ‘คิดแบบยิว ทำแบบญี่ปุ่น’ เป็นคุณพ่อที่เกษียณตัวเองออกมาเลี้ยงลูกตอนอายุ 29 ปี ด้วยการวางแผนตั้งแต่อายุ 20 กว่า ๆ ปัจจุบันเป็นนักเขียน นักพูดที่มีผู้ติดตามทั่วโลก

.

เคนเล่าว่า IQ ทางการเงินคือความรู้ทางด้านการเงิน การออม การใช้เงิน การลงทุน ฯลฯ ขณะที่ EQ ทางการเงินคือ mindset ระบบความเชื่อของเราต่อเงิน บุคลิกทางการเงิน เราอาจจะใช้เงินโดยไม่รู้ว่า EQ ส่งผลต่อการหาและใช้เงินของเรา

.

ประเภทของ EQ เรื่องเงินแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ คนชอบเก็บ, คนชอบจ่าย, และ คนเสพติดการหาเงิน ซึ่งบุคลิกทั้งสามนี้สามารถผสมกันได้ เช่น

คนชอบเก็บ + คนชอบจ่าย = คนชอบจ่ายที่อดกลั้น

คนชอบจ่าย + คนเสพติดการหาเงิน = คนชอบเสี่ยง

คนชอบเก็บ + คนชอบจ่าย + คนเสพติดการหาเงิน = คนขี้กังวล

.

อารมณ์ด้านลบทั้งห้าที่รั้งคุณไว้ไม่ให้พบเจอความมั่งคั่งคือ ความกังวล, ความกลัว, ความสงสัย, ความรู้สึกผิด, ความไม่เอาใจใส่ (ตัวเอง)

.

เราได้รับอิทธิพลอย่างมหาศาลจากพ่อแม่ของเราเมื่อเป็นเรื่องความเงิน หลายความเชื่อเกี่ยวกับเงินของเรามาจากพ่อแม่ของเรา มาจากปู่ย่าตายายของเรา (เพราะพ่อแม่เราก็รับมาอีกที)

.

เงิน เป็นพลังงานที่หมุนเวียน เงินแบ่งเป็นเงินที่มีความสุขและเงินที่ไม่มีความสุข

เงินที่มีความสุข คือ เงินที่ได้รับมาจากการทำงานที่เรารัก, การทำให้ลูกค้าพึงพอใจ การช่วยสมาชิกในครอบครัวที่เดือนร้อน การบริจาค การทำธุรกิจเพื่อชุมชน

เงินที่ไม่มีความสุข คือ เงินเดือนที่ได้รับมาจากงานที่เราไม่อยากทำ การไม่เต็มใจจ่ายค่าบัตรเครดิตที่ดอกเบี้ยสูง เงินจากคนที่ไม่อยากจ่ายให้เรา เงินที่ขโมยมาจากคนอื่น

.

คนส่วนใหญ่กำลังมีความสัมพันธ์ที่ผูกมัดและไม่มีความสุขกับเงินของเขาไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

ถ้าคุณชาร์จพลังไปในทางบวก คุณจะเห็นได้ว่าทั้งทั้งตัวเงินและกระแสเงินเพิ่มขึ้น การชาร์จเงินของตัวเองเพื่อสร้างเงินที่มีความสุข ทำได้ง่าย ๆ โดยการรู้สึกขอบคุณและเห็นคุณค่า

.

การบริจาคเงินเป็นการบอกสมองและพลังงานรอบตัวว่าคุณมีเกินพอ

.

5 ขั้นตอนสู่การเงินที่มีความสุข

1.หยุดวิธีคิดที่บอกว่าตัวเองมีไม่พอ

2.ให้อภัยและรักษาแผลที่เกิดจากเงินของตัวเอง

3.ค้นหาความสามารถของตัวเองและเข้าสู่กระแสเงินที่มีความสุข

4.เชื่อใจในชีวิต

5.พูดคำว่า ‘ขอบคุณ’ เสมอ

.

ติดตามเคนเพิ่มเติมได้ที่ https://kenhonda.com/


Comentários


bottom of page