จากหนังสือ The Whole-Brain Child Ep ที่แล้วเล่าถึงแนวทางการหลอมรวมสมองซ้ายขวา และบนล่าง คราวนี้มาดูภาคต่อและการหลอมรวมสมองทุกส่วนกันค่ะ
.
การหลอมรวมส่วนต่อมาคือการหลอมรวมความจำ เปลี่ยนความจำปริยาย (implicit memory - ความจำที่เราไม่รู้ตัวเช่นขับรถได้โดยไม่ต้องจำได้ว่าเร่ง ถอย เบรค ยังไง) เป็นความจำชัดแจ้ง (explicit memory- ความจำเฉพาะต่อเหตุการณ์ เช่น จำตอนที่เราหัดขับรถครั้งแรกได้ว่าตื่นเต้นขนาดไหน)
.
เช่น ลูกชอบว่ายน้ำมาก แต่อยู่ดี ๆ มาบอกว่าไม่อยากว่ายน้ำแล้ว อาจจะมีเหตุการณ์ที่เจอครูดุมาก ๆ ทำให้ไม่อยากว่ายน้ำแล้ว ซึ่งเค้าเองก็ไม่รู้ว่าทำไมถึงกลัว เราช่วยให้ลูกเข้าใจว่าความรู้สึกนั้นมาจากไหนเพื่อสร้างกรอบประสบการณ์และความรู้สึกใหม่
.
ปัญหาของความจำโดยปริยาย โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เจ็บปวดหรือเป็นเรื่องทางด้านลบ ถ้าเราไม่ทันระวังมันจะกลายเป็นระเบิดใต้ดิน การหลอมรวมความจำจะช่วยให้การตอบสนองแบบไร้เหตุผลน้อยลง
.
การช่วยให้ลูกหลอมรวมความจำ เราช่วยลูกได้โดยการให้ลูกเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้เจ็บปวดโดยใช้รีโมตสมอง คือลูกสามารถข้ามส่วนที่ไม่อยากเล่า แล้ว fwd ไปเล่าตรงส่วนที่อยากเล่าได้
.
การหลอมรวมภาคต่าง ๆ ของตัวฉัน โดยใช้วงล้อแห่งการตระหนักรู้ ลูกอาจจะมีความกังวลใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเราช่วยให้ลูกเขียนทุก ๆ เรื่องที่ต้องทำบนขอบวงล้อ และเมื่อใดที่ติดอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไปก็ให้กลับมาที่จุดศูนย์กลางคือดุมล้อ เพื่อให้มองเห็นว่ายังมีเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตอีก
.
และสอนลูกว่าความรู้สึกเกิดขึ้นแล้วดับไป ปล่อยให้ก้อนเมฆอารมณ์ผ่านไป ลูกอาจจะโกรธน้องหมาที่มากัดงานขาดชวนลูกคิดถึงตอนที่เล่นสนุกกับน้องหมา ความรู้สึกก็มีหลากหลายผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
.
การหลอมรวมตัวเองกับผู้อื่นช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น และช่วยให้หยั่งรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น การหลอมรวมนี้สามารถสร้างได้ด้วยการสร้างความสนุกสนานในครอบครัวให้ได้มีประสบการณ์เชิงบวกที่น่าพึงพอใจและยังสามารถเชื่อมโยงผ่านความขัดแย้ง แทนที่จะมองว่าเป็นอุปสรรคที่ต้องหลีกเลี่ยงให้มองว่าเป็นโอกาสในการสอนลูกมให้เรียนรู้ทักษะความสัมพันธ์ที่จำเป็น
.
ในหนังสือยังมีแนวทางพัฒนาสมองลูกแยกตามช่วงวัยต่าง ๆ ตั้งแต่ 0-12 ปี ถ้าสนใจแนวพัฒนาสมองที่มีงานวิจัยรองรับหนังสือเล่มนี้เหมาะมากค่ะ
Comments