top of page
Search
Writer's pictureCoachTai Musicparent

Ep.152 เราควรดูแลเวลาใช้จอของลูกอย่างไรThe Art of screen time..



มีคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนเป็นห่วงเรื่องการใช้และการดูจอของลูกบ้างคะ ลูกเราใช้จอนานเกินไปไหม ลูกดูเนื้อหาอะไรในจอ ลูกคุยกับใครที่เราไม่รู้จัก เราจะรู้ได้ยังไงว่าลูกเราติดจอแล้ว หนังสือเล่มนี้อาจจะไม่ได้ตอบคำถามเหล่านี้ตรง ๆ แต่ก็มีหลายมุมมองที่น่าสนใจค่ะ

.

ก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้ต่ายกลัวลูกใช้จอนานเกิน (ซึ่งก็ไม่รู้ว่านานเกินนี่มันนานแค่ไหน) และมีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนว่าในหนึ่งวันใช้จอได้นานแค่ไหน รวมทั้งมีเชื่อในคำแนะนำที่ว่าเด็กต่ำกว่า 2 ขวบควรหลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์

.

จากการอ่านหนังสือเล่มนี้จึงได้ทราบว่าที่มาที่ไปของคำแนะนำที่ว่าเด็กต่ำกว่า 2 ขวบควรหลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์มาจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์อเมริกันในปี 1999 ซึ่งกฎนี้ได้ถูกยกออกไปในปี 2016

.

การให้เด็กใช้จอมีทั้งประโยชน์และโทษ การใช้จอก็เหมือนกับ อาหาร จงสนุกกับการใช้หน้าจอ อย่าใช้มากเกินไป และขอให้ใช้ด้วยกันให้มาก

.

Key take away สำหรับต่าย การให้ลูกใช้จอ เรื่องระยะเวลาอาจจะไม่สำคัญ (โดยเฉพาะเมื่อลูกอายุ 7 ขวบขึ้นไป) เท่ากับเนื้อหาที่ลูกดู เราควรทราบว่าลูกเราดูอะไร เนื้อหาที่ต้องพิจารณาให้สมกับวัยคือเนื้อหาที่มีความรุนแรงและเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ

.

เด็กแต่ละคนก็ได้รับผลกระทบจากสื่อไม่เท่ากัน เด็กกลุ่มเปราะบาง (ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า) จะได้รับผลกระทบจากสื่อมากกว่า ซึ่งปัญหาจากการดูจอที่อาจส่งผลกระทบได้แก่ สุขภาพ น้ำหนัก

การนอนหลับ การมีสมาธิจดจ่อ การควบคุมอารมณ์ ความก้าวร้าว กังวล ซึมเศร้า หลงตัวเอง

เสพติดจอ

.

คำแนะนำการใช้ smart phone ในบ้าน คือ ยิ่ง smart phone อยู่ใกล้เตียงนอนในตอนกลางคืนมากเท่าไหร่ คุณจะนอนหลับได้น้อยและแย่ลงเท่านั้น การนอนหลับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้มากที่สุด ควรงดใช้หน้าจออย่างน้อย 1 ชม ก่อนเข้านอนร่วมกับการวางหน้าจอให้ห่างจากเตียง เป็นกฎการใช้จอที่สำคัญและมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับทุกคน

.

ประโยชน์ของจอก็มีมาก เช่น เราดูหนังร่วมกับลูกและสอนลูกจากเรื่องที่ดู มีหลาย app ที่ช่วยในการเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ เราใช้เทคโนโลยีในการวัดค่าต่าง ๆ และเป็น reminder ให้เรา ซึ่งภาพการใช้จอในโรงเรียนจะแตกต่างจากที่บ้าน การใช้จอในโรงเรียนมักจะใช้เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนช่วยในการเรียนรู้ การใช้จอที่โรงเรียนจึงมักจะไม่ถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายเหมือนการใช้จอที่บ้าน

.

เราควรตระหนักว่าพฤติกรรมการใช้จอของเราจะเป็นต้นแบบให้ลูก เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบ ต่ายก็มีคำถามกับตัวเองว่านี่เราติดจอหรือเปล่า เรามัวแต่กังวลกับลูก อยากให้เราลองหันกลับมาดูตัวเองด้วย ที่อเมริกามีคดีว่าแม่พาลูกไปว่ายน้ำแล้วมัวแต่ดูจอจนลูกจมน้ำตาย เราคงไม่อยากให้เกิดแบบนี้กับเรา

.

รวมทั้งเราเองได้ตระหนักถึง cyber crime การที่เราเปิดเผยตัวตนบนโลก online รวมทั้งการที่เรา post เกี่ยวกับลูกของเราโดยไม่ได้ขออนุญาตเค้า เรากำลังละเมิด privacy ของลูกเราหรือไม่ เราต้องสอนให้ลูกตระหนักในเรื่องนี้ รวมถึงการ verify ว่าข้อความที่ได้รับมาว่าเป็น fake news หรือไม่ ต่ายขอเรียกส่วนนี้เองว่า digital maturity

.

จอก็เหมือนเหรียญสองด้านที่มีทั้งประโยชน์และโทษค่ะ เราควรตระหนักรู้และเลือกข้อดีมาใช้โดยพยามยามควบคุมไม่ให้เป็นโทษค่ะ


#เลี้ยงลูกเล่นดนตรี, #โค้ชต่าย, #Musicparent, #Music, #Parent, #Coaching, #EF, #Consultant, #ดนตรี, #เลี้ยงลูก, #ปรึกษา, #พัฒนา

Comments


bottom of page