เรามีตารางชีวิตไหมคะ เป็นกิจวัตรประจำวันว่าช่วงเวลาไหนเราจะทำอะไรบ้าง แล้วเรามีตารางชีวิตครอบครัวไหมคะ หรือมันคืออันเดียวกัน ปกติตารางของเรา lead ตารางของครอบครัวหรือเปล่าคะ หรือว่าตารางครอบครัว lead โดยตารางของลูกคะ
.
เรามาดูวิธีการจัดตารางชีวิตครอบครัวกันนะคะ สิ่งที่ต้องใส่ คือ
1. เวลางาน เวลาเรียน
2. เวลาครอบครัว คือ เวลาทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงเวลาทานข้าวมื้อไหนที่เราทานพร้อมกันทั้งครอบครัว
3. เวลาส่วนตัว เวลาที่เราใช้ดูแลตัวเองทั้งร่างกายและจิตใจ ‘คนเดียว’
4. เวลาคุณภาพ เวลาสองต่อสองตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง (เคยคุยเรื่อง quality time ใน Ep.118 ค่ะ)
สำหรับขั้นตอน เริ่มจากชวนลูก list กิจกรรมที่ต้องทำและอยากทำในแต่ละช่วงเวลาค่ะ ตอนเค้า list ไม่มีถูกไม่มีผิดนะคะ เช่น ถ้าเค้าอยากเล่นมือถือเวลาส่วนตัว จากนั้นมาลงตารางค่ะ ซึ่งเวลาครอบครัวจะเป็นเวลาที่ต้องตรงกันค่ะ
.
การจัดตารางเวลาครอบครัวเป็นการฝึก EF ลูก (และ EF เราด้วย) ทำได้ตั้งแต่ลูกอายุ 2 ขวบค่ะ โดยเด็กเล็ก ๆ ตารางก็จะไม่ซับซ้อนค่ะ การจัดตารางนี้ช่วยให้ลูกรู้จักวางแผน และทำให้มีความมั่นคงทางจิตใจเพราะลูกรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นและควบคุมสถานการณ์ได้
.
ทีนี้มาถึงเวลา execute ค่ะ ถ้าเราชวนลูกทำ อะไรที่ออกมาจากปากลูก เค้าจะยอมรับง่ายค่ะ ถ้าลูกมีอาการไม่อยากเรียน online แล้ว อยากเล่นเกม ให้บอกว่าเล่นเกมได้ในช่วงเวลาส่วนตัวค่ะ แรก ๆ ลูกอาจจะทำได้บ้างไม่ได้บ้าง เราช่วยด้วยลูก review ทุกเย็นค่ะ review ทั้งของเราและของลูกมีอันไหนทำได้บ้างไม่ได้บ้าง อันไหนทำได้ก็ชื่นชมให้กำลังใจค่ะ
.
นอกจากนี้ในความเป็นจริง ตารางเราอาจจะไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ เช่น มีญาติผู้ใหญ่มาเยี่ยม บางกิจกรรมอาจจะไม่ได้ทำ เราก็สอนให้ลูกยืดหยุ่นค่ะ และตารางเวลายังช่วยให้เราเคารพเวลาของคนอื่น ลูกจะเข้าใจว่าคนอื่นก็มีกิจกรรมที่เค้าต้องทำเหมือนกัน
.
เราควรตั้งรางวัลไว้เพื่อให้ลูกตั้งใจทำให้ได้หรือไม่ การให้รางวัลเราควรให้เมื่อลูกได้ทำสิ่งนั้นไปแล้ว เช่น เราไม่ควรบอกลูกว่าจะให้รางวัลเมื่อสอบได้ที่หนึ่งเพราะจะเป็นการติดสินบน ถ้าเราอยากให้รางวัลลูกเราควรให้เมื่อลูกสอบได้ที่หนึ่งแล้ว รางวัลที่ดีที่สุดสำหรับลูก คือ การยอมรับจากพ่อแม่ เห็นว่าเค้าทำได้
.
เมื่อลูกทำผิด ลูกได้โดนลงโทษไปแล้วจากการตัดสินใจของลูกเอง พ่อแม่ไม่ควรว่าซ้ำ เพราะจะว่าเค้าไม่มีความสามารถ ลูกจะไม่มีทักษะในการรับผิดชอบ เพราะเราต้องคอยสอน วิธีสอนที่ดีที่สุด คือ สอนให้เค้าคิด คุยกับเค้าว่าคราวหน้าจะทำอย่างไร พอเค้าคิดแล้วอย่าตัดสินถูกผิด ให้เค้าลองทำและรู้ผลด้วยตัวเอง แต่ถ้าเรามองเห็นแล้วว่าไม่ควรให้ลองทำจริง ๆ ให้ชวนเค้าลองคิดเป็น scenario ค่ะ
.
สุดท้ายขอแถมเทคนิคการควบคุมอารมณ์ของเราค่ะ ในทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะมี content และ feeling ถ้าเรารู้ตัวว่าเริ่มจะปี๊ดแล้ว ให้มองที่ความรู้สึกลูกค่ะ ปกติเราจะเห็นแต่ความรู้สึกของเรา ความอยากของเรา คำถามที่เอาไว้ใช้เตือนตัวเองเลยนะคะ คือ อะไรที่ทำให้ลูกแสดงพฤติกรรมนี้ออกมา
.
ลองเอาไปปรับใช้กับวิถีชีวิตของเรานะคะ ได้ผลอย่างไรมาแชร์กันนะคะ
เรียบเรียงจาก การบรรยายในห้องเรียนพ่อแม่ โดย ครูหม่อม ผ.ศ. ด.ร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร
Ep.118 Quality time
https://www.facebook.com/2201624653226213/posts/3013368635385140/
Comments